วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

หน่วยที่ 13 การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย



ความหมายของสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย (Physical fitness) หมายถึง ภาพความสามารถของร่างกายในการประกอบการงานหรือ กิจกรรมทางกาย อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอย่างดีโดยไม่เหนื่อยเร็ว สมรรถภาพทางกายเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการทางด้านร่างกาย ของมนุษย์ สมรรถภาพทางกายของบุคคลทั่วไปจะเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงเมื่อใด

องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

1.ความทนทานของระบบไหลเวียนเลือด (Cadiovascular Endurance)

2.ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength)

3.ความทนทานของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance)

4.กำลัง (Power)

5.ความเร็ว (Speed)

6.ความคล่องตัว (Agility)

7.ความอ่อนตัว (Flexibility)

8.การทรงตัว (Balance) อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ 12 การช่วยฟื้นคืนชีพ



ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR) หมายถึง การช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิม ป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic life support) ได้แก่ การผายปอด และการนวดหัวใจภายนอก
ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ โดยที่หัวใจยังคงเต้นอยู่ประมาณ 2-3 นาที ให้ผายปอดทันที จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ และช่วยป้องกันการเกิดภาวะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจนอย่างถาวร
ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า clinical death การช่วยฟื้นคืนชีพทันทีจะช่วยป้องกันการเกิด biological death คือ เนื้อเยื่อโดยเฉพาะเนื้อเยื่อสมองขาดออกซิเจน
ระยะเวลาของการเกิด biological death หลังจาก clinical death ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่โดยทั่วไป มักจะเกิดช่วง 4-6 นาที หลังเกิด clinical death ดังนั้นการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพจึงควรทำภายใน 4 นาที
ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ
A - Airway : การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง
B - Breathing : การช่วยให้หายใจ
C - Circulation : การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียนอีกครั้ง อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ 11 สัมพันธ์ดี มีไมตรี เลี่ยงความขัดแย้ง



ปัจจัยที่จะสร้างให้คนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ดังนี้

1.บุคลิกภาพที่ดี หรือนิสัยเฉพาะส่วนตัวที่ดีของบุคคลที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเป็นจุดแรกก็คือ รูปร่าง หน้าตา ลักษณะท่าทาง การแสดงออก และการแต่งกายที่ดูดีมีสง่า มีส่วนดึงดูดความสนใจให้คนอยากเป็นมิตร อยากสนทนาพูดคุยด้วย

2.กิริยาท่าทาง หรือการแสดงออกต่อสายตาของบุคคลอื่น ทำให้คนที่พบเห็นชอบหรือไม่ชอบก็ได้

3.การพูด การพูดที่ดี มีศิลปะในการพูด ใช้คำพูดที่สุภาพ พูดให้เกียกับคนที่เราพูดด้วย

4.สายตา สาตตาจะบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิด คนที่คิดดีสายตาจะแสดงออกถึงความเป็นมิตร ไม่เสแสร้ง

5.จิตใจดี มองโลกในแง่ดีมีความจริงใจให้แก่เพื่อน การแสดงออกต่อบุคคลอื่นจะเป็นเรื่องดีๆเป็นส่วนใหญ่ และเสมอต้นเสมอปลาย

6.สติปัญญาดีและไหวพริบดี จะช่วยให้รู้จักสังเกตและพิจารณาคนที่คุยด้วยพูดสนทนาด้วยว่าเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้การสร้างสัมพันธภาพง่ายขึ้น อ่านเพิ่มเติม


หน่วยที่ 10 สารเสพติดให้โทษ



สภาพปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติด

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านยาเสพติดโลก เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกประสบอยู่รวมทั้งประเทศไทย ในอดีตจะพบว่าการแพร่ระบาดนั้นจะอยู่ที่ประชาชนผู้ใช้แรงงานและกลุ่มเยาวชน ชุมชนแออัด ผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจแต่ปัจจุบันสารเสพติดกลับแพร่ระบาดเข้าไปสู่เยาวชนในสถานศึกษาแทน ซึ่งหากไม่มีมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว เยาวชนในสังคมทั่วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวงรัฐบาลจึงได้กำหนดให้ปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในสถานศึกษาเป็นปัญหาระดับนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเร่งสร้างความตระหนักให้ทุกคนในสังคมร่วมรับผิดชอบร่วมรณรงค์ ป้องกัน และให้ความรู้อย่างครอบคลุมด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยแก่เยาวชน ซึ่งจะเป็นกลวิธีหนึ่งที่จะทำให้เยาวชนมีความรู้ มีความเข้าใจและตระหนักถึงมหันตภัยของสารเสพติด เกิดเป็นเจตคติที่ดีที่จะดำเนินชีวิตให้ห่างไกลและปลอดภัยจากสารเสพติดทุกชนิดได้ด้วยตนเอง

ความหมายและการจำแนกประเภทของสารเสพติด

จากความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 หรือความหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ สามารถสื่อความหมายของสารเสพติดได้ตรงกันว่าหมายถึง สารหรือยา หรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพเข้าร่างกายจะโดยวิธีใดๆก็แล้วแต่ จะเป็นผลต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพในลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ อ่านเพิ่มเติม